ความปลอดภัยของการใช้ยาในผู้สูงวัย

ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ไทยรัฐ

Aging society หรือสังคมผู้สูงวัย คือสังคมที่มีผู้อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แบ่งได้เป็น 3 เฟส คือ

เฟส 1 ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวน 11-12% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคนี้แล้ว และกำลังจะเข้าสู้เฟสต่อไป

เฟส 2 ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวน 14 % ของประชากรทั้งหมดในประเทศ

เฟส 3 ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ นับเป็นจุดอิ่มตัว

การที่ผู้สูงอายุในสังคมเพิ่มขึ้นมาก สิ่งที่ตามมาคือปัญหาเรื่องโรคภัยเรื้อรังที่แก้ด้วยการใช้ยา แต่การที่ยาจะช่วยให้มีชีวิตที่ดีและยั่งยืนได้นั้นย่อมต้องมาพร้อมกับการใช้ให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจะทำให้เกิดผลตรงกันข้าม

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและเพื่อให้อยู่อย่างห่างไกลโรคภัยควรทำตาม 5 ข้อ ดังนี้

1.เลือกดูแลตัวเองให้ดี ก่อนที่จะเลือกใช้ยา แม้โรคบางโรคอย่างเบาหวาน ความดัน จะมีโอกาสพบมากในผู้สูงวัย แต่ปัจจุบันโรคดังกล่าวก็ปรากฎให้เห็นในคนหนุ่มสาว ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเหล่านี้พวกเราควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีตั้งแต่ก่อนเข้าวัยชรา

2.กินยาให้ตรงเวลาตามแพทย์สั่ง หากยารักษาโรคที่ได้มีความถูกต้องต่อโรค ก็ควรที่จะกินตามสั่งอย่างต่อเนื่องและมาตามนัดพบแพทย์ เพราะการหยุดแล้ทานใหม่ไม่ได้ให้ผลการรักษาดีเท่าการทานแบบต่อเนื่อง

3.สามารถซื้อยาเองได้แต่ต้องซื้อกับเภสัชกร ในโรคที่ไม่ร้ายแรงและสามารถหาซื้อยาได้ ควรรับการจ่ายยาโดยเภสัชกร และทานยาให้สม่ำเสมอตามเวลา

4.กินยาให้ครบโดส โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันปัญหาการดื้อยาจนไม่มียาตัวไหนรักษาได้ โดยการซื้อยาฆ่าเชื้อทุกครั้งควรปรึกษาเภสัชกรและกินให้ครบโดสตามเวลาอย่างเคร่งครัด

5.การใช้ยาตามเทรนด์ควรมีการปรึกษา แพทย์ หรือ เภสัชกร ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาชีวมวลวัตถุ หรือ สมุนไหี แทนการใช้ยาเคมี ในการรักษาโดยตรงหรือรักษาร่วมก็ตาม เพราะทั้งหมดล้วนอาจมีผลกับการออกฤทธิ์ของกันและกัน

การใช้ยาเป็นเรื่องที่มีแต่จะใกล้ตัวมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น กับสภาพร่างกายที่เสื่อมลง นอกจากจะต้องรักษาสุขภาพตัวเองตั้งแต่วัยหนุ่มสาวแล้ว การใช้ยาอย่างเลี่ยงไม่ได้ตามสภาพอายุก็ต้องมีการปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงมากขึ้นจนสูญเสียค่ารักษาที่มากขึ้น หรือสูญเสียชีวิต

อ้างอิงข่าว : https://www.thairath.co.th/women/beauty/health/1501558

Leave a Comment